การเลือกซื้อ Air brush สำหรับมือใหม่ Credit shishi
บทความนี้เกิดจาก การรวบรวมข้อมูลเพื่อซื้อAir brush ของผมเอง จึงไม่ได้ลงลึกอะไรมากนักแต่ก็หวังว่าจะมีประโยชน์แก่หลายๆคนที่กำลังจะซื้อ air brush นะครับ จากที่ได้ปรึกษากับมือเก๋าๆหลายๆท่านก็มักจะแนะนำแบบแบ่งเป็นยี่ห้อซึ่งผม ว่าเข้าใจยากพอดูสำหรับมือใหม่นะครับ เลยขอเรียบเรียงวิธีการพิจารณาใหม่ในแบบที่คนที่ไม่เคยจับ Air brush ก็น่าจะเข้าใจดูครับ โดยเราจะแบ่งการพิจารณาเป็นข้อดีข้อเสียของส่วนประกอบแต่ละแบบครับ
รูปทรง
รูปทรงของ Air brush ผมก็ไม่รู้หรอกครับว่าจริงๆแล้วมีกี่แบบ แต่ที่นิยมกันหลักๆก็มี2แบบคือ แบบปืน(Spray gun) และ แบบปากกา
- รูปแบบปืน รูปร่างหน้าตาเหมือนปืนฉีดน้ำหรือปืนยิงกาว แต่หลังๆก็มีแบบรูปปากกาแต่เป็นไกปืนเหมือนกัน เขาว่ากันว่าเป็นรุ่นสำหรับมือใหม่เพราะถือไกกดปื๊ดๆได้เลย แต่ผมว่ามือเก๋าเอามาใช้พวกพ่นสีพื้นพ่นคลุมก็สะดวกดีนะ
ข้อดี จับถนัดมือ, พ่นสีง่าย
ข้อเสีย ถอดประกอบไม่ได้ยากต่อการบำรุงรักษา, มีรุ่นให้เลือกน้อย, ไม่สามารถควบคุมน้ำหนักของเส้นได้
- รูปแบบปากกา มีลักษณะคล้ายปากกาทำให้สะดวกในการใช้งานในรูปแบบวาดหรือลากเส้นโค้ง
ข้อดี สามารถใช้งานได้หลากหลายกว่า เป็นรูปทรงมาตรฐาน
ข้อเสีย ถ้ายังไม่ชินจะจับไม่ถนัดมือแล้วอาจจะทำให้ปวดนิ้ว(แต่เดี๋ยวก็ชิน)
จังหวะการกด
หมายถึงจังหวะของการกดไกเพื่อพ่นสี โดยจะมี2แบบคือ หนึ่งจังหวะ(Single action) และสองจังหวะ(Dual/Double action)
- หนึ่งจังหวะ แค่กดลงไปตรงๆสีและลมจะออกมาพร้อมๆกันเลย ลักษณะของไกจะไม่มีร่องให้โยกมาด้านหลัง
ข้อดีกดทีเดียวสีออกเลย, ไม่ต้องควบคุมน้ำหนักการกดของนิ้ว
ข้อเสียไม่สามารถกำหนดขนาดเส้นได้จากการกดไก(ต้องปรับที่ปลายด้าม), ดูไม่โปรไม่เท่
- สองจังหวะ กดเพื่อปล่อยลมแล้วโยกเพื่อปล่อยสี ยิ่งโยกมากสีก็ยิ่งออกเป็นวงกว้างขึ้น ไกมักจะมีลักษณะเอียงและ จะมีร่องไปทางด้านหลัง
ข้อดีควบคุมขนาดเส้นได้ง่าย, กดจังหวะเดียวเพื่อเป่าลมเปล่าๆออกมาได้
ข้อเสียต้องคอยกังวนเรื่องน้ำหนักของนิ้ว, มีระบบสปริงที่ซับซ้อนกว่าทำให้มีโอกาสเกิดการติดขัดสูงกว่า
แหล่งเก็บสี
รูปแบบของการเก็บสีของ Air brush แบ่งได้เป็น3แบบคือ ด้านบน ด้านข้าง และด้านล่าง โดยจะแบ่งตามลักษณะการใช้งาน
- ด้านบน หรือ ที่เรียกกันติดปากว่ากรวยบน เหมาะสำหรับการทำสีสำหรับชิ้นงานขนาดเล็ก เช่นพวกพลาสติกโมเดลต่างๆ
ข้อดีน้ำหนักเบา, ทำความสะอาดง่าย, ราคาถูก
ข้อเสีย ใส่สีได้ในปริมาณจำกัด, องศาในการทำงานจำกัด
- ด้านข้าง หรือ กรวยข้าง นั้นเอง ตอนซื้อมาก็ยังงงอยู่ว่ามันดีกว่ากรวยบนยังไงเลยลองไปค้นข้อมูลในเนทดู ปรากฏว่า ประโยชน์จริงๆของมันคือการ Paint เพดาน เพราะกรวยข้างๆมันปรับองศาเท่าไหร่ก็ได้
ข้อดี ทำงานได้หลากหลายพื้นที่มากกว่า
ข้อเสีย ใส่สีได้ในปริมาณจำกัด, ต้องระวังเรื่องข้อต่อกรวยสี
- ด้านล่าง หรือ แบบดูดจากขวดนั่นเอง เหมาะกับงานที่ใช้หลายสีหรือใช้สีปริมาณมาก เพราะ ใช้ระบบขวดทำให้ใส่สีได้มากกว่าแบบกรวยปกติ และเปลี่ยนสีได้โดยการเปลี่ยนขวดสีได้ทันที(แต่ต้องพ่นก่อนนะเดี๋ยวสีตีกัน ตาย)
ข้อดี ใส่สีได้ปริมาณมากกว่า, เปลี่ยนสีได้สะดวก
ข้อเสีย ขวดจะถูกยึดด้วยแรงเสียดทานของหลอดและแอร์บรัชเท่านั้นถ้าใส่สีมากไปหรือ ขยับมากไปอาจจะทำให้ขวดตกจากแอร์บรัชได้ ถ้าตกบ่อยจะส่งผลให้หลวมได้(ยกเว้นพวกผสมสี��ายนอก จะเป็นเกลียวมาเลย)
ตัวปรับเข็ม
ตัวปรับเข็มจะมี2ลักษณะคือสามารถปรับได้เลยโดยไม่ต้องมีการแยกส่วนแอร์บรัชออก และแบบที่ต้องถอดด้ามแอร์บรัชออกก่อน
- ไม่ต้องถอดด้ามออก
ข้อดีง่ายต่อการปรับขนาดเส้น
ข้อเสีย – (นึกไม่ออก นึกออกแล้วจะมาแก้)
- ถอดด้ามออกก่อนปรับ
ข้อดี ต้นทุนต่ำกว่าเยถูกกว่า(ไม่กี่บาทเอง)
ข้อเสีย ต้องถอดด้ามออกก่อนปรับ
การผสมของสีและลม
อันนี้อารมณ์ว่าจะเขียนทั้งทีต้องเขียนให้ครบเลยเอามาลงไปงั้นๆแหละจริงๆแล้วยังไงก็ต้องใช้แบบ��ายในอยู่แล้ว
- ��ายใน สีและลมจะออกมาจากช่องเดียวกันทำให้ได้เส้นที่คมเหมาะสำหรับงานขนาดเล็ก เช่นพวกโมเดลแบบจำลองต่างๆ
- ��ายนอก จะส่งสีและลมออกมาคนละช่องทำให้สีออกมาเป็นวงกว้างใช้ในงาน paint ขนาดใหญ่
Credit:
- ความรู้จากพี่ๆ SW และ Thai Gundam ทุกคน
- Iwata http://www.iwata-airbrush.com/products/airbrush/index.html
- Badger http://www.badgerairbrush.com/airbrush.htm
- True-International http://www.trueinter.co.th/airbrush.php
- Tamiya http://www.tamiya.com/english/products/list/airbrush/kit74501.htm
ที่มา : http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=614.0